วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การตั้งครรภ์


วงจรไข่ตก


ใน แต่ละเดือน เมื่อถึงวันที่ 14 ของรอบเดือน จะมีไข่สุก 1 ฟองถูกปล่อยออกจากรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งและพร้อมจะรับการผสม โดยจะเดินทางผ่านปีกมดลูกเข้าสู่ท่อนำไข่ และจะมีชีวิตอยู่ได้ 24 ชั่วโมง หลังการตกไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้น มูกบริเวณช่องคลอดซึ่งหลั่งจากปากมดลูกจะบางและยืดหยุ่นได้ดี เพื่อให้ สเปิร์มผ่านเข้าไปได้สะดวก

เมื่อ ไข่ที่พร้อมรับการผสมผ่านปีกมดลูกเข้าสู่ท่อนำไข่ และที่นี่จะเป็นที่ซึ่งไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มของฝ่ายชายหากฝ่ายหญิงและ ฝ่ายชายมีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างนี้ โดยเมื่อถึงจุดสุดยอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิซึ่งมีสเปิร์มถึง 200 - 400 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดฝ่ายหญิง และผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก ในระยะนี้เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นและเตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ ที่ปฏิสนธิแล้ว หากไข่ยังมาไม่ถึงในขณะนั้น สเปิร์มจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในท่อนำไข่ได้อีกราว 48 ชั่วโมง

ถ้า ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมไว้นั้น จะเริ่มหลุดลอกออกมา เป็นเลือดประจำเดือน เพื่อเข้าสู่วงจรการตกไข่รอบต่อไป

การปฎิสนธิ
เมื่อ ไข่ตกจากรังแล้ว ก็จะเคลื่อนตัวไปตามเยื่อบุท่อรังไข่ซึ่งมีขนช่วยพัดโบกไปจนถึงตำแหน่งที่จะ พบกับอสุจิ เมื่อถึงจุดสุดยอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิ ซึ่งมีสเปิร์มถึง 200 - 400 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง

เมื่อ ฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง แม้ว่าอาจเข้าไม่ได้เต็มจำนวน แต่ยังมีส่วนที่ว่ายผ่าน มูกบริเวณช่องคลอดซึ่งหลั่งจากปากมดลูก ซึ่งช่วงนี้จะบาง และยืดหยุ่นได้ดีในช่วงไข่ตก เข้าสู่โพรงมดลูก และ ผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดิน ทางด้วยอัตราเร็ว 2 - 3 มล. ต่อนาทีแต่จะเคลื่อนที่ช้าลง ในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด และว่ายเร็วขึ้นเมื่อ ผ่านจากปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อรังไข่ได้นั้น จำนวน อสุจิ 200 - 400 ล้านตัวในขณะหลั่งจะเหลือรอดได้เพียง ไม่กี่ร้อยตัวที่มีโอกาสไปผสมกับไข่ อสุจิจะปล่อยสารย่อย (Enzyme) จากส่วนหัวซึ่ง สามารถละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ออกได้ และจะมีอสุจิ เพียงตัวเดียวที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้สำเร็จ หลังจากนั้นอสุจิตัวอื่นๆ จะไม่สามารถเข้าไปได้อีก อสุจิจะสลัดหางและย่อยส่วนหัว เพื่อปลดปล่อยโครโมโซมทั้ง 23 แท่งที่บรรจุอยู่ภายในส่วน หัวเข้าสู่ไข่ เพื่อจับคู่ของตัวเองกับโครโมโซมอีก 23 แท่งในไข่ และหลอมรวมตัวกันกลายเป็นเซลล์เซลล์เดียว เรียกว่าเกิดการปฏิสนธิขึ้น

หลัง ไข่เกิดการปฏิสนธิ เซลล์จะมีการแบ่งตัวทวีคูณ ในเวลาอันรวดเร็ว จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 ฯลฯ การแบ่งตัวจะเกิดอย่างต่อ เนื่องในขณะที่ไข่ที่ผสมแล้ว (Embryo - ตัวอ่อน) เคลื่อน ตัวอย่างช้าๆ และภายในเวลา 7 วันจะเคลื่อนไปถึง ตำแหน่งที่จะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ตอนนี้ไข่ที่ผสม แล้วจะมีลักษณะเป็นลูกกลมประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 100 เซลล์ เมื่อไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ฝังตัวลงในเยื่อ บุโพรงมดลูกซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อยึดเกาะกัน มั่นคงดีแล้ว จึงถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างเรียบ ร้อยสมบูรณ์ ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน - Embryo) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มแทรก ลึกลงไปในผนังมดลูกเพื่อสร้างทางติดต่อกับเลือดของแม่ ต่อมาส่วนนี้จะเจริญเป็นรก มีการสร้างสายสะดือและ ถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มต่อไป ตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อพิเศษ 3 ชั้น ซึ่งต่อไปแต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทารกน้อย
การตั้งครรภ์ คือ ช่วงระยะเวลาเริ่มหลังจากการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอสุจิ (sperm) ผสม (conceive) กับ ไข่ (egg)ในสภาวะและเวลาที่เหมาะสม จนถึงการคลอด โดยในมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน
สภาวะที่เหมาะสมในการเริ่มตั้งครรภ์
1.               ไข่ต้องสมบูรณ์ โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีไข่เดือนละ 1 ใบ อยู่ในรังไข่ข้างใดก็ได้ ประมาณกึ่งกลางรอบเดือนซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 14 หล้งจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก ไข่จะเคลื่อนที่เพื่อเตรียมผสม
2.               อสุจิต้องแข็งแรงและมีปริมาณมากพอ ทั้งนี้เพราะกว่าจะไปถึงไข่ อสุจิต้องผ่านสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอด ผ่านโพรงมดลูก ในระหว่างนี้อสุจิบางส่วนอาจวิ่งไปคนละทางกับเป้าหมาย ทำให้เหลืออสุจิรอดไปถึงไข่ได้ไม่มาก สุดท้ายอสุจิที่หาไข่เจอจะต้องมีความสามารถในการเจาะไข่เพื่อผสมได้ด้วย จึงจะเกิดการตั้งครรภ์ โดยปกติไข่1ใบจะผสมกับอสุจิได้เพียง1ตัวเท่านั้น
อาการของการตั้งครรภ์
เมื่อมารดามีการตั้งครรภ์จะมีเริ่มมีอาการที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้เช่น การขาดประจำเดือน, การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของมารดา ถ้ามีความวิตกกังวลก็อาจทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้

ไข่เมื่อได้รับการผสมแล้วจะกลายเป็นไซโกต (ZYGOTE)
แล้วมีการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซีส ไซโกตจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกัน
4 ระยะ คือ
           1. CLEAVAGE เริ่มจากไซโกตแบ่งตัวจาก 1 – 2 – 4 - 8 ... จนกระทั้งเซลล์มาเกาะกันเป็นก้อนกลมๆเรียกก้อนกลมๆนี้ว่า โมรูลา (MORULA) 
          2. BLASTULA เป็นตัวอ่อนในระยะที่มีการเคลื่อนที่ของเซลล์เพื่อให้ได้ช่องว่างในตัวอ่อน เรียกช่องว่างนี้ว่า BLASTOCOEL และเรียกเซลล์ที่ล้อมช่องว่างว่า BLASTODERM ลักษณะของตัวอ่อนตอนนี้คล้ายผลน้อยหน่า
          3. GASTRULA เป็นตัวอ่อนที่ต่อจากระยะ BLASTULA คือ เซลล์แบ่งตัวแล้วเคลื่อนที่เข้าข้างในเห็นตัวอ่อนเป็นรูปถ้วย ซึ่งดูคล้ายมีผนัง 2 ชั้น คือ ชั้นนอกและชั้นในและในตอนนี้จะเห็นมีช่องว่าง 2 ช่อง คือ BLASTOCOEL และ ARCHENTERON ซึ่งช่อง ARCHENTERON ต่อไปจะเจริญไปเป็นทางเดินอาหาร ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อแทรกระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่นี้คือเนื้อเยื่อชั้นกลางในตอนท้ายระยะ GASTRULA จะมีการสร้างระบบประสาทขึ้น
       4. DIFFERENTIATION คือขบวนการที่เนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน เปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างต่างๆของร่างกาย เนื้อเยื่อ 3 ชั้นดังนี้
Ectoderm ชั้นนอก
- ผิวหนัง ขน เขา เล็บ เกล็ด กีบเท้าสัตว์
- ระบบประสาท(สมอง,ไขสันหลัง)
- ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และส่วนกลาง
- สารเคลือบฟัน ต่อมน้ำลาย
- ต่อมหมวกไตชั้นใน ต่อมใต้สมองส่วนท้าย

Mesodarm ชั้นกลาง
- ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ
- ระบบหมุนเวียนโลหิต (หัวใจ เส้นเลือด เลือด ม้าม)
- ระบบขับถ่าย (ไต)
- ระบบสืบพันธุ์ (อัณฑะ รังไข่)
Endoderm ชั้นใน
- ระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร,กระเพาะอาหาร , ลำไส้ , ตับ , ตับอ่อน)
- ระบบหายใจ (หลอดลม , ปอด)
- ต่อมทอนซิล หูส่วนกลาง ต่อมไทรอยด์
- ต่อมพาราไทรอยด์ อัลแลนตอยด์ ถุงไข่แดง
- กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ
- เซลล์ที่จะเจริญเป็นเซลล์สืบพันธุ์ (primordial germ cell) เมื่อเอมบริโอของคนฝังตัวที่ผนังมดลูก ประมาณ 8 สัปดาห์จะเริ่มมีอวัยวะต่าง ๆ ครบ เรียกว่า ฟีตีส (fetus)
สายสะดือ เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเอมบริโอกับรก ประกอบด้วยเส้นเลือด 3 เส้น (Umbilical artery
2 เส้น + Umbilical vein 1 เส้น)
Umbilical artery นำสิ่งขับถ่ายและ CO2 จากลูก แม่ (Deoxygenated blood)
Umbilical vein นำสารอาหารและก๊าซ O2 จากแม่ ลูก (Oxygenated blood)
รก เกิดมาจากเนื้อเยื่อของเอมบริโอที่เรียกว่า โทรโฟบลาส (trophoblast) เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสิ่งขับถ่าย สารอาหารและก๊าซให้กับเอมบริโอ สามารถสร้างฮอร์โมน H.C.G. Amnion (ถุงน้ำคร่ำ) เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) และชั้นกลาง (mesoderm)
Yolk sac (ถุงไข่แดง) เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) และ ชั้นใน (endoderm)
Allantosis (อัลแลนตอยส์) เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) และชั้นใน (endoderm)
 
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ
1.               ระยะไข่ตก (Ovulation) ได้แก่ ระยะ 2 สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง 1 ฟองโดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ 12-16) ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (Morular) แล้วผ่านเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่ไข่ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและฝังตัว ตำแหน่งที่ไข่ฝังตัวนี้จะกลายเป็นรกในเวลาต่อมา เพื่อเป็นสื่อนำอาหารจากมารดามาเลี้ยงทารกในขณะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ 
2.               ระยะคัพภะ (Embryo) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3-7 หรือ 8 เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ของร่างกาย (Organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา เป็นต้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุดสำหรับการติดเชื้อหรือการกินยา บางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้
3.               ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ 7 หรือ 8-40 เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะเพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
    ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไข่เคลือบทั่ว อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานได้ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม
    เมื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,600-2,000 กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น
    เมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 45 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,000-2,400 กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่างๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่
    และเมื่ออายุครบ 40 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่างๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักตัวไม่ควรน้อยกว่า 2,500 กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า
"ท้องลด" หายอึดอัด สบายขึ้น
การเจ็บครรภ์และการคลอด จะแบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะที่หนึ่ง
จะ เป็นช่วงที่คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้น จะพบท้องแข็งเกร็งเป็นก้อนนูนขึ้นมา เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆ ระยะนี้จะกินเวลานาน 8-10 ชั่วโมงในท้องแรก และ 6-8 ชั่งโมงในท้องหลัง การผ่านช่วงเวลานี้จะสำเร็จได้ด้วยดี หากมีการอบรมเรื่องการคลอดมาก่อน ร่วมกับการพยายามผ่อนคลาย สงบใจ และปล่อยตัวตามสบาย
เมื่อ คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด มีมูกเลือดหรือน้ำเดิน ซึ่งเป็นอาการนำมาโรงพยาบาล เมื่อมาถึงห้องคลอด เจ้าหน้าที่จะถามรายละเอียดของการเจ็บครรภ์ว่าเริ่มต้นเมื่อใด ถี่บ่อยแค่ไหน มีมูกเลือดจากช่องคลอดหรือน้ำเดินหรือไม่ จากนั้นจะมีแพทย์ถามประวัติซ้ำพร้อมตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ อุณหภูมิ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจหน้าท้องและตรวจภายในว่าปากมดลูกเปิดมากแค่ไหนแล้ว จากนั้นจะตรวจปัสสาวะเพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากพบว่าปากมดลูกเปิดไม่มาก จะทำการสวนอุจจาระ แล้วย้ายเข้ารอคลอดในห้องรอคลอด
ห้อง รอคลอด จะมีพยาบาลและแพทย์ มาตรวจการหดรัดตัวของมดลูก และตรวจภายในเป็นระยะ เพื่อดูความก้าวหน้าของการคลอด การคลอดจะเข้าสู่ระยะที่สอง เมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่ หรือปกติประมาณ 10 เซนติเมตร ในระยะนี้คุณแม่มักจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำงดอาหาร และได้รับน้ำเกลือเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการดมยาสลบในการผ่าคลอด และภาวะฉุกเฉินในการสตั้งครรภ์ต่างๆ สำหรับอาการเจ็บครรภ์ในระยะนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึกวิธีต่างๆ หรือใช้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม
ระยะที่สอง
เป็น ระยะที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่และจะมีการคลอดของทารกจนเสร็จสิ้น ในระยะนี้คุณแม่จะได้รับการย้ายเข้าสู้ห้องคลอด และนอนอยู่ในท่าเตรียมคลอด ซึ่งจะอยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะยกสูง หรือขึ้นขาหยั่ง จากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการคลอดทารกคือ แรงเบ่งของคุณแม่ การเรียนรู้และได้รับการอบรมเรื่องการเบ่งคลอด จะช่วยให้คุณแม่ออกแรงเบ่งตลอดได้ถูกวิธี โดยเมื่อมีการเจ็บครรภ์คลอด มดลูกเริ่มหดรัดตัว คุณแม่ควรหายใจเข้าลึก กลั้น และเบ่งยาว เมื่อหมดแรงเบ่งสูดหายใจเข้าลึก กลั่น และเบ่งยาวซ้ำ ในการหดรัดตัวของมดลูก 1 ครั้งควรเบ่งยาวได้ 2-3 ครั้ง ขณะที่คุณแม่เบ่ง พยาบาลจะช่วยให้กำลังใจ ให้จังหวะ และเชียร์เบ่ง การเบ่งคลอดที่ถูกต้องจะทำให้ทารกเคลื่อนตัวลงมาอย่างเหมาะสม เมื่อทารกเคลื่อนตัวลงมาที่ปากช่องคลอด แพทย์จะช่วยทำคลอดโดยฉีดยาชาระงับความรู้สึกบริเวณฝีเย็บ และอาจพิจารณาตัดฝีเย็บ เพื่อช่วยเหลือกลไกการคลอด หลังจากนั้น แพทย์จะทำคลอดทารก
เมื่อ ทารกคลอด แพทย์จะทำการดูดน้ำคร่ำในปาก และจมูกของทารกโดยใช้ลูกยางแดง เพื่อเป็นการกระตุ้นทารกและช่วยให้ทารกเริ่มหายใจ จากนั้น จะเช็ดตัวทารกให้แห้ง ห่มผ้าให้อบอุ่น และอาจพิจารณานำทารกมาวางไว้บนหน้าอกคุณแม่ เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก และให้ทารกดูดนมเพื่อกระตุ้นกลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม ขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะพิจารณาทำคลอดรกซึ่งจะเป็นการคลอดในระยะที่สาม ระยะที่สองนี้โดยปกติในท้องแรกจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง ส่วนในท้องหลังจะใช้เวลา ? -1 ชั่วโมง
ระยะที่สาม
เป็น ระยะที่จะเกิดการคลอดของรก หลังทารกคลอดปกติรกจะเริ่มลอกตัว เมื่อรกลอกตัวแล้วแพทย์จะพิจารณาทำคลอดรก โดยอาจจะทำการกดบริเวณหน้าท้องหรือท้องน้อยของคุณแม่ เพื่อดันไล่รกลงมาที่ช่องคลอด และช่วยทำคลอดรก หลังคลอดรก แพทย์จะทำการตรวจสอบหาบาดแผลในช่องทางคลอด และพิจารณาเย็บซ่อมแซมโดยใช้ยาระงับความรู้สึก โดยมากระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
หลัง จากระยะนี้แล้ว คุณแม่จะพักอยู่ในห้องคลอดต่อไปประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะได้รับการย้ายเข้าสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด ซึ่งในระยะนี้คุณแม่มักจะหลับ เนื่องจากการเหนื่อยและอ่อนเพลียจากการคลอด การพักผ่อนในโรงพยาบาลมักใช้เวลาเพียง 1 วันหลังคลอดในกรณีที่คลอดปกติทางช่องคลอด จากนั้น แพทย์มักอนุญาตให้คุณแม่และทารกกลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้
ตัวอย่างโรคจากแม่สู่ลูก
เอดส์ หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS)เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) ทำให้ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและการเกิดเนื้องอกบางชนิด เชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อผ่านทางการสัมผัสของเยื่อเมือกหรือการสัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งมีเชื้อ เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นช่องคลอด น้ำหลั่งก่อนการหลั่งอสุจิ และนมมารดา อาจติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจเป็นทางช่องคลอด หรือทวารหนัก หรือช่องปาก, การรับเลือด, การใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อน, ติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ คลอด ให้นม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆ ดังกล่าว
อาการ
โครงสร้างของเชื้อเอชไอวี
เชื้อเอชไอวีทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ ที่มีชื่อว่า CD4 เมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ต่ำลง จะทำให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน และเกิดอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนในที่สุด
ภายหลังการได้รับเชื้อ ร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อ ในปัจจุบันในการวินิจฉัยว่าติดเชื้อหรือไม่ เราไม่ได้ตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจว่าร่างกายเรามีปฏิกิริยาต่อเชื้อหรือไม่ โดยการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV antibody) ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจให้ผลลบได้ในกรณีที่ได้รับเชื้อมาใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนอง
ภายหลังการรับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการมักกินเวลาสั้น ๆ และหายไปได้เอง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ เลย
เชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระดับเม็ดเลืดขาวที่เรียกว่าซีดีโฟร์ลดลงอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการของเอชไอวีเกิดขึ้น เช่นฝ้าในปาก ผึ่นคันตามตัว น้ำหนักลด โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเมื่อระดับซีดีโฟร์ต่ำกว่า 200 cell/mm3
อัตราเฉลี่ยของประเทศไทยตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มป่วยใช้เวลา 7-10 ปี ในช่วงที่เรามีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายแต่ไม่ป่วยเพราะเรายังมีภูมิคุ้ม กันที่ยังควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ เรียกว่า เป็นผู้ติดเชื้อ และเมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลายเหลือจำนวนน้อย จนไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคบางอย่างได้ทำให้เราป่วยด้วยเชื้อโรคนั้น ๆ เรียกว่าเราเริ่มมี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นผู้ป่วยเอดส์ โรคที่เราป่วยเนื่องจากภาวะภูมิบกพร่อง เรียกว่า โรคฉวยโอกาส

แนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ที่สำคัญในปัจจุบัน

มีอยู่สองแนวทาง ที่ต้องให้การดูแลควบคู่กันไปคือ
1.               การป้องกันและรักษาโรคฉวยโอกาส ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส (ที่สำคัญคือ หลายโรคป้องกันได้ และทุกโรครักษาได้)
2.               การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี เพื่อลดปริมาณไวรัสในเลือดให้น้อยที่สุดและควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับ ต่ำนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ลดโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคฉวยโอกาส

สาเหตุการติดเชื้อ

เชื้อไวรัสเอชไอวีพบในเลือดและสารคัดหลั่งหลายชนิดของร่างกาย ได้แก่ น้ำอสุจิ เมือกในช่องคลอดสตรี น้ำนม น้ำลาย และอาจพบได้ในปริมาณน้อยๆ ในน้ำตาและปัสสาวะ เมื่อพิจารณาจาก แหล่งเชื้อแล้วจะพบว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อได้ หลายวิธีคือ
  • การมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และกับเพศตรงข้าม
  • การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะรวมทั้งไขกระดูกและน้ำอสุจิที่ใช้ผสมเทียมซึ่งมีเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ได้ลดลงไปจนเกือบหมด เนื่องจากมีการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้บริจาคเหล่านี้ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มผู้บริจาคซึ่งไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ไม่รับบริจาคเลือดจากผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น เป็นต้น
  • การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน และของมีคมที่สัมผัสเลือด
  • จากมารดาสู่ทารก ทารกมีโอกาสรับเชื้อได้หลายระยะ ได้แก่ เชื้อไวรัสแพร่มาตามเลือดสายสะดือสู่ทารกในครรภ์ ติดเชื้อขณะคลอด จากเลือดและเมือกในช่องคลอด ติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำนม จะเห็นได้ว่าวิธีการติดต่อเหล่านี้เหมือนกับไวรัสตับอักเสบบีทุกประการ ดังนั้นถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็จะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วย
วิธีการคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ

การคุมกำเนิด เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ ในขณะที่คุณยังไม่พร้อม

การคุมกำเนิด ทำได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนจะเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีไหน
ขึ้นอยู่กับความต้องการ เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน

ถ้าคุณเป็นผู้ชาย

การใช้ถุงยางอนามัย เหมาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งคราว
การใช้ถุงยางอนามัย มีผลดี ป้องกันการตั้งครรภ์ได้หากคุณใช้ถูกวิธี
ถุงยางอนามัยหาซื้อได้ง่าย เช่น ตามร้านขายยา ข้อควรระวัง
ควรเลือกซื้อถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพ เพราะถุงยางอนามัยที่เก่า
อาจจะฉีกขาด หรือรั่ว และควรใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย


การทำหมันชาย วิธีนี้เป็นการผ่าตัดผูกท่อน้ำเชื้อทั้งสองข้าง
ป้องกันตัวอสุจิออกมา หลังผ่าตัดแล้วถ้ามีการหลั่งอสุจิประมาณ 10 ครั้ง
ก็จะเป็นหมันไม่มีบุตรอีก วิธีนี้สะดวก ปลอดภัย และเจ็บตัวเล็กน้อย
เหมาะสำหรับคุณผู้ชายที่มีบุตรมาแล้ว 2 คน หรือมีบุตรพอแล้ว
ารทำหมัน ไม่ใช่การตอน คุณจึงมีสมรรถภาพทางเพศเหมือนเดิมทุกอย่าง

ถ้าคุณเป็นผู้หญิง วิธีคุมกำเนิดได้แก่


ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดชั่วคราว แต่ได้ผลมากที่สุด
ยานี้มีผลทำให้ไข่ไม่ตก เป็นยาเม็ดที่ใช้กิน มีลักษณะเป็นแผงๆ ละ 21  และ 28 เม็ด
ใช้วันละ 1 เม็ด โดยเริ่มทานยาเม็ดแรกในวันที่ 5 หลังมีประจำเดือนจนหมดแผง
แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับคนขี้ลืม เพราะถ้าทานยาไม่สม่ำเสมอ อาจจะไม่ได้ผล
นอกจากนี้ยาอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อคุณได้ ก่อนใช้จึงควรปรึกษาแพทย์

( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.momyweb.com/forums/index.php?topic=180.0/ )

ยาฉีดคุมกำเนิด โดยวิธีการฉีดยาเข้าที่กล้ามเนื้อสะโพก
ไม่เกินวันที่ 5 ของรอบเดือน ฉีดยาครั้งหนึ่งคุมไปได้ 3 เดือน หรือบางชนิดอาจจะคุมได้ 4 เดือน
คุณจะฉีดชนิดไหนก็ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้


การทำหมันหญิง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว
การทำหมันหญิง คือการผ่าตัดผูกท่อนำไข่ เพื่อป้องกันมิให้ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ที่ปีกมดลูก
การผ่าตัดอาจจะทำ ระยะคลอดบุตรใหม่ๆ ประมาณ 24 ชั่วโมงหลังคลอด ซึ่งเรียกกันว่า
ทำหมันเปียก หรืออาจจะทำหลังคลอดแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ เรียกว่าหมันแห้ง
วิธีนี้สะดวก ปลอดภัย มีสมรรถภาพทางเพศเหมือนเดิม และสามารถทำงานได้ตามปกติ

นอกจากนี้ การใส่ห่วงอนามัย โดยใช้เครื่องมือใส่ห่วงเข้าไปในมดลูก
ให้ห่วงอยู่ในโพรงมดลูก ก็จะช่วยคุมกำเนิดได้ วิธีนี้แพทย์จะเป็นผู้ใส่ให้และไม่มีอันตราย


การใช้ยาฝังคุมกำเนิด ก็เป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง
โดยการใช้ฮอร์โมนฝังไว้ใต้ผิวหนัง บริเวณต้นแขนด้านใน เป็นการใช้ยาเพียงครั้งเดียว
แต่ออกฤทธิ์ได้นานและสม่ำเสมอ สะดวก เพราะ คุมกำเนิดได้ถึง 5 ปี เหมาะสมหรับ
ผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว 1 คน ต้องการคุมกำเนิดอีก 5 ปี วิธีนี้เหมาะที่สุด

การนับวัน ก็เป็นวิธีการคุมกำเนิด โดยมีระยะเวลาก่อนมีประจำเดือน 7 วัน
และหลัง จากเริ่มมีประจำเดือน 7 วัน ถือว่าเป็นระยะที่ปลอดภัยมีเพศสัมพันธ์ได้
แต่การนับวันอาจจะมีการผิดพลาดได้ ถ้าคุณมีปัญหารอบเดือนคลาดเคลื่อน
จึงไม่อยากแนะนำให้ใช้วิธีนี้

แต่ไม่ว่าคุณจะสนใจเลือกใช้วิธีไหนในการคุมกำเนิดก็ตาม
ขอให้ปรึกษาแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วๆ ไป ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

1 ความคิดเห็น:

  1. Best slots machines - Jetblue Casinos - Jtm Hub
    Slot machines are 양주 출장안마 a lot more fun than gambling 전주 출장마사지 machines, so 김제 출장샵 many slots 경주 출장마사지 machines are the best choice for 1xbet login you if you're looking for fun, easy-to-use,

    ตอบลบ