วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สารบัญ


บั







ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง              

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
การตั้งครรภ์


ผู้จัดทำ

นางสาวชณา เชาวน์วาณิชย์กุล เลขที่ 1
นางสาวปพิชญา รงค์เดชประทีบ เลขที่ 4
นางสาวมาริสา เตชะสนธิชัย เลขที่ 5
นางสาวสุชัญญา สิทธิ เลขที่ 7
ม.4/5
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  ปีการศึกษา 2555



ระบบสืบพันธุ์เพศชาย


ฮอร์โมนเพศชาย
ฮอร์โมนเพศชาย มีอินทรีย์สารที่ละลายได้ฮอร์โมน จากแอนโดรเจนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในผู้ชาย ฮอร์โมนเพศชายเป็นสิ่งสำคัญในสุขภาพและการเจริญเติบโตของร่างกายและการ เปลี่ยนแปลงทางเพศและลักษณะทางกายภาพร่างกาย
การสร้างฮอร์โมนเพศชาย
การสั่งของสมองในการสร้างฮอร์โมนเพศชายมาจาก ต่อมไฮโปทาลามัสจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน จีเอ็น อาร์ เอช ไปกระตุ้นลูกอัณฑะให้สร้างฮอร์โมนเพศชายขึ้น ฮอร์โมนเพศชายดังกล่าว คือ Testosterone จะมีระดับสูงสุดในช่วงตอนเช้าประมาณ 5-7 โมงเช้า Testosterone มีผลกับการพัฒนาลักษณะรูปร่างของเพศชาย โดยมีลูกอัณฑะทำหน้าที่ผลิตTestosterone
ลักษณะของฮอร์โมนเพศชาย
ฮอร์โมนเพศชายสามารถอยู่อย่างอิสระ (Free) หรืออยู่รวมกัน (Bound) กับโปรตีนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่จับอยู่กับโปรตีนในร่างกายไม่สามารถนำมาใช้ได้ ฮอร์โมนที่ไม่ได้จับกับโปรตีนในร่างกายเรียกว่าฮอร์โมนอิสระหรือ Bioavailable testosterone
ระดับฮอร์โมนเพศชาย
ระดับปกติของฮอร์โมนเพศชายอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl จากระดับปกติดังกล่าว ร้อยละ 97-98 จะอยู่ในรูปของฮอร์โมนที่ไม่อิสระ จำนวนของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ SHBG จะจับกับ testosterone ทำให้มันไม่สามารถไปออกฤทธิ์ส่งต่อร่างกายได้ อย่างที่กล่าวแล้วว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยในเรื่องความคงทนของกล้ามเนื้อและ รักษาสภาพหรือเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ อารมณ์ทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้น เพิ่มพลังงานของจิตใจและร่างกาย และยังสนับสนุนการพัฒนาทางอารมณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตอีกด้วย

ผลการเปลี่ยนแปลงของโฮโมนเพศชาย
ฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งมีผลกระทบมากมายต่อกิจกรรมในการผลิตพลังงานของร่างกาย เช่น การผลิตเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก การจัดรูปร่างของกระดูก การเผาผลาญของไขมันและแป้ง และการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนเพศชาย
1.                                       การสูญเสียสถานะสังเคราะห์โฮโมน จีเอ็น อาร์ เอช
2.                                       การผลิต ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงจากอายุ
3.                                       การเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายออกหาเวลากลางคืนผิดปกติ
4.                                       ได้รับสารต้านทานการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย
5.                                       มีการใช้แร่ธาตุสังกะสีในการบำรุงร่างกายบกพร่อง ทำให้ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำ

โรคอื่นๆ
ฮอร์โมนเพศหญิงเกิดขึ้นในร่างกายของผู้ชายได้อย่างไร ในร่างกายมีเอ็นไซม์ที่ชื่อว่า Aromatase ซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายจำนวนหนึ่งไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายของผู้ชายจะสร้างจำนวน Aromatase มากขึ้น จำนวน Aromatase ที่มากขึ้นนี้หมายถึงการแปรสภาพฮอร์โมนเพศชายไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมากขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง ผู้ชายอาจมีระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติแต่การที่เพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศ หญิงจะมีผลกระทบสัมพัทธ์ต่อระดับฮอร์โมนเพศชายที่ปกติ
โรคอ้วน
การศึกษาชี้ว่าโรคอ้วนมีผลโดยตรงกับฮอร์โมนเพศหญิงที่มากเกินไปในทั้ง สองเพศ ทุกอนุภาคของไขมันจะมี Aromatase เป็นส่วนประกอบ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของจำนวนอนุภาคของไขมันจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มการแปล สภาพของฮอร์โมนเพศชายไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิง การเปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง โรคอ้วนนี้เป็นที่รู้กันว่าทำให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำในทุกวัย
การดื่มสุรา
จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การดื่มสุราจะทำให้การทำงานของตับแย่ลง การดื่มสุราก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายเพิ่ม ขึ้น ในสุภาพสตรีจะมีการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเด่นชัดหลังจากดื่ม สุราเพียงแค่แก้วเดียว ส่วนในผู้ชายแม้การเพิ่มขึ้นเห็นไม่เด่นชัดแต่ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงมีการ เพิ่มสูงขึ้น พวกที่ดื่มสุราหนักจะมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงที่สูงกับอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น มีเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังเป็นหย่อมๆ คล้ายใยแมงมุม (Spider veins) โดยเฉพาะบริเวณจมูกและแก้ม, มีเต้านมใหญ่ขึ้นจนอาจเหมือนเต้านมผู้หญิง (gynecomastia) และการหดขนาดลงของอัณฑะ การดื่มสุราจะลดระดับของธาตุสังกะสีในร่างกายเช่นกัน
การขาดแคลนธาตุสังกะสี (Zinc)
ธาตุสังกะสีเป็นตัวหยุดยั้งระดับของ Aromatase ในร่างกาย ถ้าระดับของธาตุสังกะสีมีไม่เพียงพอ ระดับของ Aromatase ก็จะสูงขึ้น ธาตุสังกะสีนี้ยังจำเป็นสำหรับระบบการทำงานปกติของต่อมใต้สมอง ถ้าไม่มีธาตุสังกะสีต่อมใต้สมองก็จะไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนฮอร์โมนเหนี่ยวนำ การตกไข่ และ ฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตกซึ่งเป็นตัวกระตุ้นอัณฑะให้ผลิตฮอร์โมนเพศชายได้ สิ่งที่น่าสนใจคือธาตุสังกะสีมีความสำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศชาย ในขณะเดียวกันฮอร์โมนเพศชายดังกล่าวก็มีความจำเป็นสำหรับการรักษาระดับของ ธาตุสังกะสีในเนื้อเยื่อของร่างกายเช่นกัน
ยาต่างๆ
ผลข้างเคียงของยาจะมีผลกระทบด้านลบต่อร่างกายและอาจมีผลกระทบต่อชายวัย ทอง ตัวอย่างเช่นการปัสสาวะบ่อย (ยาขับปัสสาวะ ) เป็นยาที่ใช้รักษา ความดันโลหิตสูง และผลของการปัสสาวะบ่อยจะทำให้ระดับของธาตุสังกะสีในร่างกายลดลง
ระบบการทำงานของตับ
หนึ่งในระบบการทำงานของตับคือช่วยขับสารเคมี, ฮอร์โมน, ยา และของเสียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกายออกจากร่างกาย มีปัจจัยต่างๆ ที่จะกระทบกับการทำงานของตับ เช่น การดื่มสุราจะลดการทำงานของตับ อายุที่มากขึ้นตามปกติจะทำให้การทำงานของตับลดลงด้วยเช่นกัน

อาการขาดหรือลดลงของโฮโมนเพศชาย

อาการจากการขาด Androgen
1.                                       มีผลกระทบต่อระบบความจำ (cognitive function) คือการขาดพลังงานทางด้านจิตใจ ลดความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และมีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้า
2.                                       มีผลกระทบต่อการสูญเสียการเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ ความหนาและความแข็งแรงของกระดูก การสูญเสียเหล่านี้สามารถเกิดกับชายวัยทองทำให้รู้สึกว่าเหนื่อยง่าย
3.                                       มีผลกระทบต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่าย ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการก้าวร้าว ความไม่เป็นมิตร และความโมโห
4.                                       เหงื่อออกและหน้าแดง ในผู้ชายสามารถเกิดได้เช่นเดียวกับผู้หญิง
5.                                       มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเพศและการสูญเสียอารมณ์ทางเพศจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย
6.                                       การลดลงของสมรรถภาพทางเพศหรือ การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ การไม่มีประสิทธิภาพในการคงสภาพของการแข็งตัว การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ รวมถึงระยะเวลาของการแข็งตัว ผู้ชายส่วนใหญ่เมื่อถึงวัยกลางคนอาจจะสิ่งต่างๆเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงทางเพศจะเป็นสิ่งแรกที่มาก่อนหรือเป็นตัวเตือนให้ระวังว่าโรค ที่จะตามมา
 ผลกระทบระยะสั้น
1.                                       ความแข็งแรงลดลง
2.                                       ความอดทนลดลง
3.                                       ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง
4.                                       อารมณ์ทางเพศลดลง
5.                                       สมรรถภาพทางเพศลดลง
6.                                       พักผ่อนน้อย
7.                                       เหนื่อยง่าย
8.                                       ความมั่นใจในตนเองลดลง
9.                                       ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น
ผลกระทบระยะยาว
1.                                       โรคกระดูกพรุน
2.                                       โรคอ้วน
3.                                       การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ
การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปที่เกิดกับชายวัยทอง
1.                                       การลดลงของพลังงานด้านร่างกาย
2.                                       ไม่ค่อยมีสมาธิ
3.                                       ขี้หลงขี้ลืม
4.                                       นอนหลับได้น้อย
5.                                       มีการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตที่แย่ลง








การสืบพันธุ์ หมายถึง การผลิตสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้นๆ ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป มี 2 แบบคือ

1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือ การสืบพันธุ์ที่ไม่มีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเพศเมีย
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือ การสืบพันธุ์ที่มีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเพศเมีย

การสืบพันธุ์ของคนเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยวิธีการปฏิสนธิภายใน เมื่อชายและหญิงย่างเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมเพศ (ชายคืออัณฑะ หญิงคือรังไข่) ให้ผลิตฮอร์โมนเพศและผลิตเซลล์สืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
1. อัณฑะ (Testis) มี 2 อัน ภายในมีหลอดสร้างอสุจิ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและผลิตฮอร์โมนเพศชาย
2. ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ คือ 34 องศาเซลเซียส
3. หลอดเก็บอสุจิ (Epididymis) มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆยาวมาก ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิเพื่อให้แข็งแรงมากขึ้น
4. หลอดนำอสุจิ (Vas deferens) เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหาร เพื่อใช้หล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ได้แก่ วิตามินซี, น้ำตาลฟรุกโตสและโปรตีนโกลบูลิน
6. ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) มีหน้าที่สร้างสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆเพื่อใช้ล้างความเป็นกรดที่ท่อ ปัสสาวะของเพศชายและช่องคลอดของเพศหญิง
7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper gland) ทำหน้าที่หลั่งสารหล่อลื่นในท่อปัสสาวะ
8. ลึงค์หรือองคชาติ (Penis) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากร่างกาย อยู่ระหว่างอัณฑะทั้ง 2 ข้าง ภายในมีท่อปัสสาวะ มีช่องเปิดสำหรับขับน้ำอสุจิและน้ำปัสสาวะออกมา
โดยทั่วไปเด็กชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นประมาณ 12-13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ตัวอสุจิประกอบด้วยด้านส่วนหัวซึ่งภายในมีนิวเคลียสและส่วนหางที่ยาวช่วยใน การเคลื่อนที่
ในการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้ง จะมีน้ำอสุจิประมาณ 3-4 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวอสุจิประมาณ 350-500 ล้านตัว ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง แต่อยู่ในร่างกายเพศหญิงได้ประมาณ 2 วันหรือ 48 ชั่วโมง











ระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Male Reproductive System)

                       ระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เป็นระบบที่สำคัญต่อการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้สืบต่อไปชั่ว ลูกชั่วหลาน โดยจะทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเลี้ยงดูจนกลายเป็นตัวเต็มวัยออกมา โดยมีสารพันธุกรรมจากพ่อและแม่เป็นตัวกำหนดลักษณะตลอดจนเพศของลูกตั้งแต่มี การปฏิสนธิ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกของเพศชาย และเพศหญิง จะมีการพัฒนามาตั้งแต่ระยะที่อยู่ในท้องของแม่แล้ว โดยจะมีการพัฒนาควบคู่มากับระบบขับถ่าย ผลจาก Y chromosome ในตัวอ่อนเพศชายจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะของระบบสืบพันธุ์ชาย แต่ในตัวอ่อนเพศหญิงไม่มี Y chromosome จึงมีการพัฒนาให้เป็นอวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงแทน
ระบบสืบพันธุ์เพศ ชาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ sperm และทำหน้าที่ในการนำส่ง sperm เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อผสมกับเซลล์ไข่ต่อไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชายอีกด้วย
 
อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย
1. อัณฑะ (testes) มีการพัฒนามาจาก gonads ทำหน้าที่สร้าง sperm และ hormone เพศชายคือ testosterone
2. accessory ducts เป็นท่อนำ sperm จากอัณฑะออกไปสู่ภายนอก ประกอบด้วย epididymis, vas deferens, ejaculatory duct และท่อปัสสาวะ
3. accessory glands เป็นต่อมที่สร้างสารอาหารเลี้ยง sperm และช่วยอำนวยความสะดวกในการลำเลียง sperm ออกสู่ภายนอกด้วย ได้แก่ seminal vesicle ต่อมลูกหมาก และต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland)
4. penis ทำหน้าที่นำส่งน้ำอสุจิเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง

ถุงอัณฑะ (scrotal sac หรือ scrotum)
ถุง อัณฑะเป็นส่วนผิวหนังที่มีลักษณะเป็นถุงยื่นออกมาจากส่วนล่างของผนังหน้า ท้องบริเวณส่วนกลางของถุงอัณฑะมีสันนูนคล้ายรอยเย็บ เรียกว่า scrotal raphe ซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแยกออกเป็น 2 ถุง ภายในถุงอัณฑะแต่ละข้างประกอบด้วย อัณฑะ epididymis และปลายด้านล่างของ spermatid cord ผิวหนังของถุงอัณฑะบางและเป็นรอยย่น (rugose) เนื่องจากในชั้นผิวหนังของถุงอัณฑะมีกล้ามเนื้อเรียบเรียกว่า dartos muscle ซึ่งถูกเลี้ยงโดยระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic กล้ามเนื้อ dartos จะทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของอัณฑะให้คงที่ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างและการพัฒนาของ sperm ที่ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส

อัณฑะ (testes)

                   อัณฑะ เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้อยู่ในถุงอัณฑะ มีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดประมาณ 4x2.5x2 เซ็นติเมตร หนัก 10-15 กรัม ปกติอัณฑะทางด้านซ้ายจะอยู่ต่ำกว่าทางด้านขวาประมาณ 1 เซ็นติเมตร ในตัวอ่อนอัณฑะจะวางตัวอยู่ในช่องท้องใกล้กับไต เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 7 เดือนอัณฑะจะเคลื่อนผ่าน inguinal canal ซึ่งเป็นช่องทางเชื่อมระหว่างถุงอัณฑะกับช่องท้อง แล้วเข้าไปอยู่ในถุงอัณฑะพร้อมทั้งนำเอาหลอดเลือด เส้นประสาทและท่อ vas deferens ที่ออกจากอัณฑะตามลงไปด้วยกลายเป็น spermatid cord การออกแรงยกของหนักหรือมีความดันในช่องท้องสูงอาจทำให้ inguinal canal ขยายเปิดกว้างออก อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในช่องท้องสามารถเคลื่อนผ่านรูนี้ออกมาดันอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกว่า ไส้เลื่อน (inguinal hernia) และถ้าหากอัณฑะยังไม่สามารถเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกสภาพนี้ว่า cryptochidism ซึ่งจะมีผลทำให้ไม่สามารถสร้าง sperm ได้
โครงสร้างของอัณฑะ

อัณฑะ ถูกหุ้มด้วย dense connective tissue ที่เรียกว่า tunica albuginea ซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแบ่งอัณฑะออกเป็น lobule เล็ก ๆ ประมาณ 200-300 lobule ภายในแต่ละ lobule ประกอบด้วย interstitial cell of Leydig และ seminiferous tubule ซึ่งจะขดไปรวมความยาวทั้งหมดของ seminiferous tubule แล้วประมาณ 225 เมตร seminiferous tubule แต่ละหลอดมาบรรจบกันเป็น straight tubule (tubulus rectus) แล้วประสานกันเป็นตาข่ายเรียกว่า rete testis ต่อจากนั้น rete testis ก็จะรวมกันกลายเป็น ductuli efferents ทะลุ tunica albuginea เชื่อมต่อกับส่วนหัวของ epididymis
                                                   รูปที่ 2 ลักษณะโครงสร้างภายในถุงอัณฑะ

interstitial cell of Leydig (Leydig's cell)

                      Leydig's cell เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใน dense connective tissue โดยแทรกอยู่ระหว่าง seminiferous tubule (รูปที่ 3) ทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชาย คือ testosterone เพื่อกระตุ้นให้เด็กชายแตกหนุ่มมีรูปร่างลักษณะเปลี่ยนเป็นเพศชายชัดเจน (male secondary sex charectoristics) คือมีหนวดเคราตามใบหน้า ขนขึ้นบริเวณรักแร้ หน้าท้องและบริเวณหัวเหน่า กล่องเสียงขยายใหญ่ทำให้เสียงแตกห้าว กล้ามเนื้อเป็นมัดใหญ่ และกระดูกยืดยาวขึ้น penis ขยายโตขึ้นและต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมลูกหมาก seminal vesicle มีการเจริญเติบโตสร้างและหลั่งสารออกมา และกระตุ้นให้มีการสร้าง sperm
seminiferous tubule
seminiferous tubule เป็นท่อที่มีเยื่อบุผิวซึ่งวางตัวอยู่บน basal lamina ท่อนี้ถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและ เซลล์แบน ๆ มีลักษณะคล้ายเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเรียก myoid cell เมื่อเซลล์นี้หดตัวช่วยบีบไล่ sperm ออกไปตามท่อ ภายใน seminiferous tubule จะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ spermatogenic cell เป็นเซลล์ที่ให้กำเนิดเซลล์สืบพันธุ์หลายระยะและ sertoli cell (supporting cell)
sertoli cell เป็นเซลล์ทรงสูงคล้ายปิรามิด ฐานของเซลล์วางอยู่บน basal lamina ไปจนถึง lumen ทำหน้าที่ นำสารอาหารจากหลอดเลือดไปเลี้ยงเซลล์สืบพันธุ์ ช่วยในการลำเลียงเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์จาก basal lamina ของ seminiferous tubule ออกสู่ lumen ช่วยกัดกินและทำลายเซลล์สืบพันธุ์ที่ตายแล้ว
spermatogenic cell
spermatogenic cell เป็นกลุ่มของเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย มีรูปร่างกลม เรียงตัวแทรกอยู่ระหว่าง sertoli cell ตั้งแต่ชั้น basal lamina ไปจนถึง lumen ของ seminiferous tubule (รูปที่ 3) ซึ่งกลุ่มเซลล์เหล่านี้ จะมีการแบ่งตัวและเปลี่ยนตั้งแต่ spermatogonia จนกลายไปเป็น sperm เรียกกระบวนการนี้ว่า spermatogenesis ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 64 วัน แบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ได้ 4 ระยะคือ
1. spermatocytogenesis เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์แบบ mitosis เริ่มต้นตั้งแต่ spermatogonia จนกลายเป็น primary spermatocyte เพื่อเพิ่มปริมาณของเซลล์สืบพันธุ์
2. meiosis เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyte จนกลายเป็น spermatid ซึ่งทำให้จำนวน chromosome ลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือเป็น 23 chromosome จะมีการแบ่งเซลล์ 2 ครั้ง
-meiosis I เป็นการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyte กลายเป็น secondary spermatocyte
-meiosis II เป็นการแบ่งเซลล์จาก secondary spermatocyte กลายเป็น spermatid
3. spermiogenesis เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ spermatid ซึ่งเป็นเซลล์รูปร่างกลมให้กลายเป็นเซลล์มีรูปร่างลักษณะพิเศษคือ sperm โดยอาศัย organelle ใน spermatid คือ นิวเคลียส, golgi apparatus, mitochondria และ centrioles
4. spermiation เป็นกระบวนการปลดปล่อย sperm ออกสู่ lumen
                           
                                      รูปที่ 4 กระบวนการ spermeogenisis

ถ้า เอา sperm แต่ละตัวที่เจริญเต็มที่ไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นว่า sperm แต่ละตัวมีความยาว 55-65 ไมครอน ประกอบด้วย
1. ส่วนหัว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ภายในคือนิวเคลียสของ spermatid และทางด้านหน้า 2/3 ของนิวเคลียสจะถูกหุ้มด้วย acrosome ซึ่งภายในมี acrosomal enzyme หลายชนิดทำหน้าที่ย่อยทำลายผนังของไข่คือ
- hyaluronidase (cumulus oophorus dispersing enzyme) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย corona radiata
- acrosin หน้าที่ย่อยสลาย zona pellucida ของเซลล์ไข่
2. ส่วนหาง ส่วนประกอบภายในจะคล้ายกันกับ flegellum สร้างมาจาก centriole มี mitochondria ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้แก่ sperm ให้สามารถเคลื่อนไหวได้

                                                     รูปที่ 5 ลักษณะโครงสร้างของ sperm
epididymis
epididymis ประกอบด้วย กลุ่มท่อที่ขดไปมาเป็นก้อนโอบโค้งอยู่ทางด้านหลังของอัณฑะ เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ขนาดประมาณ 4 เซ็นติเมตร เมื่อคลี่ออกจะยาวประมาณ 6 เมตร ส่วนปลายสุดที่ยืดตรงขึ้นและโป่งออกกลายเป็น ductus deferens
โครง สร้างภายใน ductus epididymis ประกอบด้วย เยื่อบุผิวชนิด pseudostratified columnar epithelium มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อเรียบล้อมรอบเพื่อช่วยบีบไล่ sperm ที่อยู่ใน lumenให้เคลื่อนที่ออกจาก ducttus epididymis
หน้าที่ของ ductus epididymis
1. เป็นแหล่งอาหารและที่พักของ sperm ให้มีการพัฒนาตัวเองจนสามารถเคลื่อนไหวเพื่อเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ได้
2. เป็นทางผ่านของ sperm ออกจากอัณฑะเข้าสู่ ductus deferens
3. หลั่งสารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ
ductus deferens (Vas deferens)
ductus deferens เป็นท่อที่ต่อจาก ductus epididymisยาวประมาณ 45 เซ็นติเมตร ออกจากถุงอัณฑะกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของ spermatid cord ภายใน spermatid cord นอกจากประกอบด้วย ductus deferens แล้ว ยังมี หลอดเลือด เส้นประสาท ท่อน้ำเหลืองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมอยู่ด้วย spermatic cord ผ่านเข้าสู่อุ้งเชิงกรานทาง inguinal canal แล้วทอดไปทางด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะก็จะเหลือแต่ ductus deferens ปลายสุดของ ductus deferens ก็จะโป่งออกเป็นกระเปาะ เรียกว่า ampulla แล้วเชื่อมต่อกับท่อที่ออกจาก seminal vesicle รวมกันกลายเป็น ejaculatory duct เปิดเข้าสู่ท่อปัสสาวะในต่อมลูกหมาก
ductus deferens เป็นท่อที่ทำหน้าที่นำ sperm จากอัณฑะเข้าสู่ ejaculatory duct ในการทำหมันชาย โดยการตัดเส้นทางไม่ให้ sperm ออกสู่ภายนอกไปผสมกับเซลล์ไข่สามารถทำได้ง่าย ด้วยวิธีกรีดผิวหนังทางด้านหลังของถุงอัณฑะแล้วจึงผูกและตัด ductus deferens เนื่องจาก ductus deferens เป็นท่อที่มีชั้นกล้ามเนื้อหนามากสามารถคลำส่วนต้นของท่อนี้ได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำอยู่ทางด้านหลังของถุงอัณฑะ เรียกวิธีการทำหมันในผู้ชายนี้ว่า vasectomy
ejaculatory duct
เป็น ท่อสั้นๆ ยาวประมาณ 2 เซ็นติเมตร รับสารที่สร้างมาจาก seminal vesicle และ ductus deferens แล้วแทงทะลุเข้าทางด้านหลังของต่อมลูกหมาก เข้าไปเชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะที่อยู่ในต่อมลูกหมาก
seminal vesicle
seminal vesicle มีลักษณะเป็นถุงยาวขดไปมาทางด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ มีอยู่ 2 ข้างจะให้ท่อเชื่อมต่อกับ ampulla ของ ductus deferens กลายเป็น ejaculatory duct seminal vesicle จะสร้างสารซึ่งประกอบด้วยสารเมือก fructose สำหรับให้พลังงานแก่ sperm เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหว prostaglandins เพื่อทำให้มดลูกหดตัวช่วยบีบไล่ sperm ให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมี วิตามินซี และ coagulating enzyme สารที่หลั่งออกจาก seminal vesicle มีปริมาณ 60 % ของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาแต่ละครั้ง มีฤทธิ์เป็นด่างเพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอดของผู้หญิง

ต่อมลูกหมาก (prostate gland)
ต่อมลูกหมาก เป็นก้อนรูปร่างคล้ายกรวย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซ็นติเมตร น้ำหนัก 20 กรัม หุ้มรอบท่อปัสสาวะ มี ejaculatory duct ทะลุผ่านมาเปิดออกที่ prostatic urethra ผนังชั้นนอกของต่อมลูกหมากถูกห่อหุ้มด้วยถุง(capsule) เนื้อต่อมลูกหมากประกอบด้วย stroma part ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อเรียบ และ glandular part ประกอบด้วยโครงสร้างที่อยู่ภายในมีต่อมขนาดเล็กชนิด compound tubuloalveolar gland มากมายเรียงตัวล้อมรอบท่อปัสสาวะ จะให้ท่อเล็ก ๆ มาเปิดออกที่ท่อปัสสาวะ สารที่สร้างมาจากต่อมลูกหมาก มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวคล้ายน้ำนม มีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย ประกอบด้วย acid phosphatase, citric acid , cholesterol, phospholipid, zinc, proteolytic enzyme และ fibrinolysin ซึ่งช่วยหลอมละลายการแข็งตัวของก้อนอสุจิที่หลั่งออกมา สารที่หลั่งออกจากต่อมลูกหมากจะกระตุ้นให้ sperm เคลื่อนไหวได้ดี มีการสร้างสารอาหารสำหรับ sperm ซึ่งการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งมีสารที่สร้างจากต่อมลูกหมากประมาณ 30 %

Cowper's gland (bulbourethral gland)
Cowper's gland เป็นต่อมขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่ว 2 ต่อม ตั้งอยู่ 2 ข้างของท่อปัสสาวะ แต่อยู่ต่ำกว่าต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่ให้ท่อออกมาเปิดออกสู่ท่อปัสสาวะที่ อยู่ใน penis สารที่สร้างและหลั่งออกมา เป็นสารเมือก มีฤทธิ์เป็นด่างทำหน้าที่หล่อลื่นและลดความเป็นกรดภายในท่อปัสสาวะของผู้ชาย และในช่องคลอดของผู้หญิง

                                         รูปที่ 6 ลักษณะโครงสร้างของ accessory gland และ penis


penis
penis เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะและน้ำอสุจิ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่แนบชิดติดกับลำตัวเรียกว่า root และส่วนที่ยื่นออกมาเรียกว่า body penis ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ (erectile tissue) ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก 3 แท่ง ภายในมีลักษณะคล้ายฟองน้ำประกอบด้วยโพรงของแอ่งเลือดเล็ก ๆ (sinusoid) มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อเรียบเรียงตัวเป็นแผ่นมี endothelial cell ของหลอดเลือดคลุม แท่งเนื้อเยื่อทางด้านบน 2 แท่งเรียกว่า corpus cavernosum มาอยู่ชิดกัน มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า tunica albuginea ที่หนาหุ้มรอบ ที่บริเวณ root ของ penis แท่งเนื้อเยื่อทั้งสองจะแยกออกจากกันแล้วจะไปเกาะติดกับกระดูก pubis ส่วนแท่งเนื้อเยื่อที่อยู่ทางด้านล่างตรงแอ่งระหว่าง corpus cavernosum ทั้งสองเรียกว่า corpus spongiosum ภายในมีท่อปัสสาวะอยู่ตรงกลางตลอดความยาว ที่บริเวณ root ของ penis แท่งเนื้อเยื่อนี้จะโป่งออกเป็นกระเปาะเรียกว่า bulb ของ penis ส่วนปลายสุดของ corpus spongiosum จะขยายโป่งออกและคลุมส่วนปลายสุดของ corpus cavernosum กลายเป็น glans of penis เป็นบริเวณที่พบปลายประสาทรับความรู้สึกเป็นจำนวนมากทำให้ไวต่อการกระตุ้น ตรงกลางมีรูเปิดของท่อปัสสาวะ แท่งเนื้อเยื่อทั้งสามจะถูกยึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแล้วมีผิวหนัง ค่อนข้างบางหุ้มรอบชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ส่วนปลาย glans of penis จะมีผิวหนังทบกัน 2 ชั้นยื่นออกมาคลุม glans of penis เอาไว้เรียกว่า prepuce หรือ foreskin ในชั้นผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมเหงื่อ และต่อมไขมันมาก เมื่อมีการหลั่งสารออกจากต่อมพร้อมกับเซลล์ที่หลุดลอกออกจากผิวหนังมารวมตัว กันจะเป็นก้อนสีขาวขุ่นเรียกว่า smegma ถ้าหากทำความสะอาดบริเวณนี้ไม่ดีจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นการผ่าตัดเอา prepuce ออกซึ่งเรียกว่าการทำ circumcision จะทำให้สามารถทำความสะอาดบริเวณนี้ได้ง่าย