วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ลักษณะปกติของประจำเดือน





จากวงรอบของการมีประจำเดือน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในดัง กล่าวโดยสรุปได้ว่าประจำเดือน ปกติมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.             วงรอบของการมีประจำเดือนโดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน แต่ระยะไม่น้อย หรือมากกว่า 7 วันก็จัดว่าปกติ
2.             ระยะเวลาของการมีประจำเดือนประมาณ 3-5 วัน ไม่ควรน้อยหรือมาก กว่า 3 วัน และไม่ควรเกิน 7 วัน
3.             ปริมาณของเลือดประจำเดือน ประมาณวันละ 100-150 ลูกบาศก์เซนติ เมตร จะมีประจำเดือนออก มากในวันที่ 1-2 และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนหมด
4.             ลักษณะของเลือดประจำเดือน จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากเลือดธรรมดา เลือดที่เป็นของเหลวไม่ จับตัว กันเป็นก้อน วันแรกจะเป็นสีแดงค่อนข้างสด วันต่อๆไปจะมีสีคล้ำเปลี่ยนเป็นน้ำตาลแล้วจาง ไปเรื่อยๆ จน หมด
5.             อาการที่เกิดร่วมกับการมีประจำเดือน ได้แก่ อาการปวดท้องบริเวณท้องน้อย เราควรรับประทาน ยาแก้ ปวดก็หาย ใน 1-2 วัน ก่อนมีประจำเดือนอาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง คัดหน้าอกปัสสาวะ บ่อย เพลีย หงุดหงิด หรืออาจมีช้ำเลือดฝอยอาการเหล่านี้มักไม่รุนแรงและหายไปได้เอง
ลักษณะและอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว จัดว่าเป็นอาการผิดปกติทั้งสิ้น การแก้ไขอาการ ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวิจัยฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการมีประจำเดือน
แม้ว่าในขณะนี้เรากำลังอยู่ในโลกที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาสตร์และเทคโนโลยีสูงมาก แต่ก็ยังมีคนอีก เป็นจำนวนมากที่ยังมีความเชื่อผิดๆ หรือความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการมีประจำเดือน ความเชื่อผิดๆ เหล่านั้น ได้แก่
เชื่อว่าห้ามสระผมในระหว่างการมีประจำเดืือน การมีประจำเดือนเป็นการเจ็บ ป่วยอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความเจ็บป่วยตามธรรมชาติ
การออกกำลังกายทุกอย่างในระหว่างการมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่อันตราย ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ การนอนพักมากๆ ห้ามตกแต่งทรงผมในระหว่างการมีประจำเดือน หรือถ้ามีอาการปวดฟันในระหว่างการมีประจำเดือน อาการปวดฟันนั้นจะรุนแรงขึ้น เป็นต้น ความเชื่อหรือความเข้าใจเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเป็นเรื่องเหลว ไหลทั้งสิ้น
บรรเทาอาการปวดประจําเดือน
ท่าที่1 นั่งหลังตรงบนเก้าอี้ ปล่อยขาทํามุม 90 องศากับพื้น ตามสบาย จากนั้นพยายามกางขาออกให้กว้างมากที่สุด เท่าที่จะทําได้ค้างไว้ นับ1-10 แล้วกลับสู่ท่าเรื่มต้น ทําซํ้าซัก5ครั่ง
ท่าที่2 หมุนบั้นเอวจากซ้ายไปขวา แล้วสลับหมุนจากขวาไปซ้ายข้างละสิบครั้ง เช้า-เย็น
ท่าที่3 ท่านี้คือ ท่าแมวในการฝึกโยคะนั่นเอง ทําง่ายๆดังนี้
1. คุกเข่า โก้งโค้ง เอามือยันพื้น แขนเหยียดตรง ขาแยก ห่างกันพอสมควร ตามองตรง
2. หายใจเข้า โก่งหลังขึ้นเหมือนแมวที่กําลังขู่ศัตรู คางชิดอก หายใจออก ค้างท่านับ 1-10 หายใจตามปกติ
3. ค่อยๆลดหลังลง เคลื่อนหน้าขึ้นมาตรง หายใจออก ค้างท่านับ1-10
4. จากนั้นหายใจเข้าพร้อมกับแอ่นหลังลงไป เงยหน้าขึ้น หายใจออกค้างท่านับ 1-10 หายใจตามปกติ จบด้วยการหายใจเข้า เคลื่อนหลังขึ้นมาตรง หน้าตรง หายใจออก
(ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้มีอาการเจ็บหลังอยู่)
นอกจากนี้การออกกําลังกายเป็นประจํายังเป็นยาดีที่จะช่วยเราได้ในระยะยาว และเพราะช่วยให้ร่างกายได้หลั่งสารอินเดอร์ฟินให้ได้รู้สึกกระปี้กระเป่า
และยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคได้ด้วย สำหรับผู้หญิงแล้ว ส่วนใหญ่มักหนีไม่พ้นกับปัญหา ปวดประจำเดือน ผู้หญิง 3 ใน 4 ราย มักมีปัญหาเรื่องอาการก่อนมีประจำเดือน และมาพบแพทย์ และมักมาขอยาแก้ปวดประจำเดือนไปรับประทาน หรือหาซื้อยา Ponstan มารับประทานเอง ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงทุกคนจะมีรอบเดือนที่แตกต่างกันและอาจมีอาการได้ทุกคน เช่น อาการปวดประจำเดือน
มารู้จักอาการปวดประจำเดือนกันก่อนว่าเป็นอย่างไร
อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)
มักพบในเด็กสาวหรือผู้หญิงที่มีอายุยังน้อย มักมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง ในช่วงวันแรกๆ ของการมีประจำเดือน บางครั้งมีอาการปวดมากเหมือนไม่สบาย มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เต้านมคัด ตึง ปวดบริเวณบั้นเอว บางคนถึงกับเป็นลม ซึ่งอาการปวดนี้จะหายไปเองใน 1-2 วัน เพราะสาเหตุของการปวดประจำเดือนส่วนใหญ่มาจากกล้ามเนื้อปากมดลูกตึงเกินไป ในบางรายอาจพบว่า ก่อนหรือระหว่างการมีประจำเดือน อาจมีอาการของโรค ไมเกรน ปวดศีรษะ อารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย
อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual tension PMT) มี อาการเป็นสัญญาณเตือนก่อนประจำเดือนจะมา อาการที่พบ อาทิ บวมน้ำ น้ำหนักตัวเพิ่ม ข้อบวม รู้สึกอยากอาหาร มีสิวขึ้น อ่อนเพลีย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ
ขอขอบคุณที่มารูปภาพและข้อมูลจาก : http://www.painpax.com/article/example-website-article-2/
สาเหตุ การเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงระหว่างรอบเดือน บางครั้งเกิดจากการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือขาดกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) , ขาดวิตามินบี 5 ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมรอบประจำเดือน
การดูแลสุขภาพของสาวๆ วัยมีประจำเดือนตามแนวของแพทย์ทางเลือกสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
  • การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ เช่น การเล่นโยคะ สามารถลดอาการปวดท้องน้อย และอาการปวดหลังได้
  • การ รับประทานอาหารให้เพียงพอ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง สารอาหารครบ 5 หมู่ และเน้นเสริมธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามิน บี1 ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ ผักและผลไม้สด
  • พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การอาบน้ำร้อน หรือประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนที่บริเวณท้องน้อยจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  • การ บำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหย (Aromatherapy) สามารถนำน้ำมันกลิ่นลาเวนเดอร์ (Lavender), เจอเรเนียม (Geranium) ครั้งละ 6-8 หยดผสมน้ำอาบเช้า-เย็น ก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์
  • การ ใช้น้ำมันกลั่น คาจูพุต (Cajuput), เสจ (Sage), แดนิซีด (Aniseed), ไซเปรส ( Cypress ) และมาร์จอแรม (Marjoram) ผสมทาที่หน้าท้องวันละ 2 ครั้ง ก่อนมีประจำเดือน 10 วัน จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
  • การ ประคบด้วยน้ำร้อน-น้ำเย็น โดยประคบร้อน 2-3 นาที สลับด้วยการประคบเย็น 30 วินามี ทำซ้ำประมาณ 2-3 รอบ จะช่วยลดอาการปวดได้เหมือนกัน
ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยในการบำบัดอาการปวดประจำเดือน ตามศาสตร์ของแพทย์ทางเลือก และเป็นวิธีที่ง่ายต่อการบำบัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น